วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555



ชื่อเรื่อง                  ประเพณีเวียนเทียน
ผู้สัมภาษณ์           มนัสชนก  อินทะแสง
ผู้ให้สัมภาษณ์    นายทองมี  พรมวง
วันที่สัมภาษณ์      30 ตุลาคม 2554
เวลาที่สัมภาษณ์    11.30

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีเวียนเทียน
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งทุกวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬหบูชา ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
             วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณยัญญะ พระวัปปพระภัททิยะ พระมหานาม และพระโอรสชิ ที่ป่าอิสิตนมฤคทายวัน เมืองพาราญสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโก
เหตุที่ธรรมเทศนาของพระพุทธองค์มีความสำคัญ เพราะพระพุทธองค์ทรง เปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ทั้งยังเป็นผู้เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม ที่นำมาซึ่งความสงบสุขร่มเย็น ดังนั้นธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อ ว่า ธัมมะจักกัปตันตนสูตร แปลว่าพระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรมหรือพระสูตร แห่งการแผ่ขยายธรรมจักร
          โดยในตอนแรกนั้นเหล่าพระปัญจวัคคีย์ยังไม่เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นอรหันต์ แต่เมื่อได้ฟังการเทศนาจนจบ พระโกณยัญญะ หนึ่งนัยวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ประกอบไปด้วย พระโกณยัญญะ พระวัปปะพระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม   และเมื่อพระโกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุใน พระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ ใจความสำคัญของการปฐมเทศนาก็คือ การสอนหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือ การดำเนินตามทางสายกลางโดยไม่หลงใน รูป รส กลิ่น เสียง และไม่ทรมานตน ให้เกิดความลำบาก อาทิ การบำเพ็ญตบะหรือการคอยพึ่งแต่อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น อีกหลักหนึ่งก็คือ อริยสัจ 4 ที่ได้ทรงค้นพบด้วยตัวพระองค์เองโดยมีความหมาย ว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ นั่นก็คือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลสนั่นเอง ได้แก่